ผู้เข้าชม

web counter

 

 

 


                                                                                                                         

       นายกรัฐมนตรีไทยคนที่2
      พระยาพหลพลพยุหเสนา

ประวัติ

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) กับท่านผู้หญิงจับ พหลพลพยุหเสนา สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 5 สมัย รวมระยะเวลา 5 ปี 5 เดือน 21 วัน ยังได้รับสมญานามว่า เชษฐบุรุษ ด้วย ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 03.05 น. รวมอายุได้ 60 ปี
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา มีพี่ชายที่รับราชการทหาร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพยุหเสนา เช่นกัน คือ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (นพ พหลโยธิน) ยศสูงสุดเป็น พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี

การศึกษา

โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม)
โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย
โรงเรียนนายร้อยทหารบก 
พ.ศ. 2446 โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมืองกรอส-ลิชเตอร์เฟลเด (Groß-Lichterfelde) ประเทศเยอรมนี
พ.ศ. 2455 โรงเรียนช่างแสง ประเทศเดนมาร์ก 1 ปีก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

สมัยที่ 1 : 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
สมัยที่ 2 : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 22 กันยายน พ.ศ. 2477
สมัยที่ 3 : 22 กันยายน พ.ศ. 2477 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
สมัยที่ 4 : 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
สมัยที่ 5 : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2453 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมนี

พ.ศ. 2457 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี

พ.ศ. 2458 ผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร

พ.ศ. 2460 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา

พ.ศ. 2461 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2

พ.ศ. 2467 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสรายุทธ์สรสิทธิ์ ถือศักดินา 1,000

พ.ศ. 2469 ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร

พ.ศ. 2473 จเรทหารปืนใหญ่

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพหลพลพยุหเสนา ถือศักดินา 1,500

พ.ศ. 2475 ผู้บัญชาการทหารบก

พ.ศ. 2487 แม่ทัพใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และตำรวจสนามตามกฎอัยการศึก

บทบาททางการเมือง

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นหัวหน้าคณะราษฎร ปฏิวัติจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จนได้รับฉายาว่า "เชษฐบุรุษประชาธิปไตย" จากที่มีบทบาทค่อนข้างสูงในการปฏิวัติ เพราะเป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายทหารบก และหลังจากที่คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไป มีชาวบ้านบางคนคิดว่า เป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยซ้ำ

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 โดยรัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3

พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 4 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2487 แม้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก (พล.อ.)

 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย


เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (ป.จ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
  เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
  เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ)
  เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)
  เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)
ต่างประเทศ
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้น 1 จักรวรรดิญี่ปุ่น
 เครื่องอิสริยาภรณ์เอกเกลอ ดู เมรีธ ชั้นสูงสุด จากเยอรมนี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่3 ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์