ผู้เข้าชม

web counter

 

 

                                                                                                             

  นายกรัฐมนตรีไทย คนที่23
 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

ประวัติ

ทักษิณ ชินวัตร (อักษรโรมัน: Thaksin Shinawatra เกิด: 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี และอดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร

ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติ องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี

เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คมช. ตั้งตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง ทั้งเพิกถอนสิทธิทางการเมืองทักษิณห้าปี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช. แต่งตั้งอายัดทรัพย์ของทักษิณและครอบครัวในประเทศไทยรวม 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติขณะอยู่ในตำแหน่ง

ทักษิณเคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หลังพรรคพลังประชาชนที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้ง แต่หลังจากเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ทักษิณไม่เดินกลับประเทศไทยเพื่อฟังคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรแต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงเดินทางข้ามไปมาหลายประเทศอยู่พักหนึ่ง หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม ศาลดังกล่าวตัดสินจำคุกทักษิณ 2 ปี จากคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ทักษิณเป็นผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ในปี 2552 รัฐบาลอภิสิทธิ์เพิกถอนหนังสือเดินทางของทักษิณ โดยอ้างว่ามีบทบาทในกลุ่ม นปช.ระหว่างเหตุการณ์ไม่สงบช่วงสงกรานต์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ทรัพย์สินของทักษิณประมาณ 46,000 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน ทักษิณถูกถอดยศ "พันตำรวจโท" โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2558

ประวัติส่วนตัว

ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวน 10 คนของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร ธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์ ผู้เป็นธิดาในเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)

สมัยอยู่ร้านกาแฟ ในเวลาว่าง ทักษิณมักช่วยบิดาโม่กาแฟ และขายโอเลี้ยง เมื่อครั้งบิดาทำสวนส้ม ทักษิณมักช่วยมารดาตัดส้ม แพ็คลงเข่งอย่างสม่ำเสมอจนชำนาญ นอกจากนั้น ทักษิณยังรับหน้าที่ขายกล้วยไม้ จากสวนของบิดาด้วย เมื่ออายุได้ 16 ปี ได้ช่วยบิดาดำเนินการโรงภาพยนตร์ของครอบครัว

ในปี พ.ศ. 2518 ทักษิณเริ่มงานการเมืองเป็นครั้งแรก โดยดำรงตำแหน่งเลขานุการของปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ทักษิณ สมรสกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หลังลาออกจากราชการตำรวจ ในปี พ.ศ. 2523 และมีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่

  1. พานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)
  2. พินทองทา ชินวัตร (เอม) สมรสกับณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
  3. แพทองธาร ชินวัตร (อิ๊ง)

ทักษิณ มีชื่อเล่นว่า น้อย[ ส่วนชื่อ แม้ว เป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ตั้งให้[35] เนื่องจากแม้จะตากแดดแต่ตัวก็ไม่ดำ [36] ส่วนชื่อ "เหลี่ยม" นั้นมาจากนักเขียนหนังสือพิมพ์และประชาชนเป็นคนตั้งให้ เนื่องจากมีใบหน้าทรงเหลี่ยม และความเหลี่ยมจัดของตัวทักษิณเอง

การศึกษา

ทักษิณ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2512) และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 (พ.ศ. 2516) โดยสอบได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น ต่อมา ทักษิณศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยได้รับทุนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในสาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกีสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2518 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต เมื่อ พ.ศ. 2521 และได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในสาขาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2537

การรับราชการและธุรกิจ

ทักษิณ เริ่มทำงานโดยเป็นหัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2523 ทักษิณ เริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวหลายอย่าง ควบคู่ไปกับการรับราชการตำรวจ เช่น ค้าขายผ้าไหม กิจการโรงภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่กลับประสบความล้มเหลว เป็นหนี้สินกว่า 50 ล้านบาท ในระหว่างนั้นจึงได้ลาออกจากราชการ ขณะมียศเป็นพันตำรวจโท 

ทักษิณ เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยมักเป็นการนำภาพยนตร์ที่เคยได้รับความนิยมกลับมาสร้างใหม่ แต่ส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ เช่น ไทรโศก(2524; สร้างครั้งแรกโดย วิจิตร คุณาวุฒิ พ.ศ. 2510) รักครั้งแรก (2524; สร้างครั้งแรกโดย ล้อต๊อก พ.ศ. 2517) โนรี (2525; สร้างครั้งแรกโดย พันคำ พ.ศ. 2510) รจนายอดรัก (2526; สร้างครั้งแรกโดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง พ.ศ. 2515) 

หลังจากการประกอบธุรกิจมาหลายประเภท ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสารด้วยการก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด(เดิมชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI) ) ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2526 เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมจาก IBM และต่อมาได้เริ่มธุรกิจวิทยุติดตามตัวยี่ห้อ Phonelink ที่ได้กลายเป็นแท่นกระโดดสู่ธุรกิจโทรคมนาคมเต็มตัว

ถัดจากนั้นได้ก่อตั้งบริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด หรือเอไอเอส ในวันที่  24 เมษายน พ.ศ. 2529 เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 MHz หรือระบบเซลลูล่าร์ โดยได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ และยังได้ริเริ่มเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์เคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิกซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการให้บริการในลักษณะดังกล่าว โดยจัดตั้งบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด (ไอบีซี) เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532  โดยเริ่มนำเอาช่องข่าวระดับโลกอย่าง CNN เข้ามาให้ชมได้เป็นครั้งแรก และกลายเป็นช่องทางรับชมข่าวสารที่สำคัญระดับโลกและเหตุการณ์สำคัญในเมืองไทยหลายเหตุการณ์ในเวลาต่อมา 

ต่อจากนั้นด้วยความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ว่าการสื่อสารโทรคมนาคมจะต้องเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน หรือ “สื่อสารกันได้ใต้ฟ้าเดียวกัน” ที่คาดการณ์ว่าการสื่อสารทั้งภาพและเสียงแบบสองทาง โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทาง จึงได้ลงทุนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ การเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียมสื่อสาร โดยเวลานั้นได้จัดตั้งบริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ขึ้นในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2534  ด้วยการเข้าประมูลสัมปทานเพื่อทำธุรกิจดาวเทียมสื่อสารของประเทศกับทางกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงคู่สัญญาเป็นกระทรวงไอซีที) ซึ่งสามารถชนะการประมูลในที่สุด สัญญาสัมปทานมีอายุ 30 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ  พระราชทานนามดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติดวงแรกอย่างเป็นทางการว่า ”ไทยคม” (“THAICOM”) มาจากคำว่า Thai Communications หรือ ไทยคมนาคม เพื่อเป็นสัญญลักษณ์การเชื่อมโยงประเทศไทยกับเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่

หลังจากความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจนำบริษัทในกลุ่มชินวัตรเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปี 2533 – 2537 อาทิ

บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชันส์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2534

บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่  18 มกราคม 2537 

เข้าสู่การเมือง

ในปี พ.ศ. 2537 ทักษิณลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น และเข้าสู่ภาคการเมือง โดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ชักนำ โดยโอนหุ้นให้คุณหญิงพจมาน พานทองแท้ พินทองทา แพทองธาร

จากนั้นไม่นาน ก็เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัย รัฐบาลชวน หลีกภัย และในปีต่อมา เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนพลตรีจำลอง และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ทักษิณก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค จนในที่สุดก็ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

การตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 23 โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ และดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549

 

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ
ทักษิณขึ้นปกนิตยสารไทม์
  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ด้านพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งได้รับเป็นคนแรก จากคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร (พ.ศ. 2534) 
  • ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในบุคคล 50 คน ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก ของ นิตยสารไทม์ (พ.ศ. 2538)
  • รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year โดย Asean Institute ประเทศ อินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535)
  • 1 ใน 3 คนไทยดีเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ จากสถานทูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2538)
  • บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคม เพื่อสังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536 จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537)
  • 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times (พ.ศ. 2537)
  • รางวัล Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center, มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2539)
  • รางวัล Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (5 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
  • Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ. 2537)
  • รับพระราชทาน ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2537)
  • ทุน Lee Kuan Yew Exchange Fellowship จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ในเอเชีย ที่ได้รับทุน (พ.ศ. 2537)
  • 1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535)
  • รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นนายกองใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ (พ.ศ. 2544)[66]
  • รางวัล โลซินเซีย แอปพลิเคชัน อวอร์ด จากองค์การภาพยนตร์ โมชั่น พิคเจอร์แอปพลิเคชัน (พ.ศ. 2546)
  • รางวัล International Forgiveness Award 2004 ซึ่งมอบให้แก่บุคคลที่มีความพยายามมุ่งไปสู่สันติภาพ และสร้างความเป็นเอกภาพ ซึ่งมีบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้มาแล้ว ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2, พระคาร์ดินัล Vinko Puljic และนาย Sergio Vieira De Mello ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จากสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งรัสเซีย Plekhanov Russian Academy of Economics (พ.ศ. 2550)
  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550
อิสริยาภรณ์
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) 
  • พ.ศ. 2539-Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 
  • พ.ศ. 2544-Order of the Direkgunabhorn 1st class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.) 
  • พ.ศ. 2545-Order of Chula Chom Klao - 2nd Class upper (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายหน้า (ท.จ.ว.) กรณีพิเศษ 
ต่างประเทศ
  • ค.ศ. 2001 -Royal Order of Sahametrei (Cambodia) - ribbon bar.gif เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรี ชั้นมหาสิริวุธา (ชั้นสูงสุด) จากกัมพูชา 
  • ค.ศ. 2002 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อะหมัด อัล ฟาติห์ สูงสุดลำดับที่ 2 จากบาห์เรน 
  • ค.ศ. 2002 -BRU Order of Loyalty to the State of Brunei.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์เนการา บรูไน ยัง อมัต บาฮาเจีย ชั้นสูงสุด จากบรูไน 
  • ค.ศ. 2003 -SWE Order of the Polar Star (after 1975) - Commander Grand Cross BAR.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์นอร์ดสท์ยาร์นีออร์เด็น ชั้นสูงสุด จากสวีเดน 
  • ค.ศ. 2004 -NLD Order of Orange-Nassau - Knight Grand Cross BAR.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นสูงสุด จากเนเธอร์แลนด์