ผู้เข้าชม

web counter

 

 



                                                                                                            

  นายกรัฐมนตรีไทย คนที่24
   พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

ประวัติ

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) องคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรีในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลาออกจากตำแหน่ง พล.อ.สุรยุทธ์ ได้เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนายอารีย์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย8 เมษายน พ.ศ. 2551 พล.อ.สุรยุทธ์ ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้กลับดำรงตำแหน่ง องคมนตรี เป็นครั้งที่สองพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีฉายาว่า "บิ๊กแอ้ด"วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าเป็น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติทั่วไป

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เกิดในค่ายจักรพงษ์ที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของพันโทพโยม จุลานนท์ บุตรของพันเอกพระยาวิเศษสิงหนาถ (ยิ่ง จุลานนท์) ต้นตระกูลจุลานนท์ บิดาเคยดำรงตำแหน่งสูงระดับแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันในนาม "สหายคำตัน" กับมารดาชื่ออัมโภช จุลานนท์ (สกุลเดิม ท่าราบ) บุตรพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)

ชีวิตครอบครัวพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สมรสครั้งแรกกับนางสาวดวงพร รัตนกรี มีบุตรชาย 1 คนคือ พันตรีนนท์ จุลานนท์ ผู้บังคับกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 1 กองทัพภาคที่ 1 สมรสครั้งที่สองกับ พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ (สันทัดเวช)  มีบุตรชาย 2 คน คือ นายสันต์ จุลานนท์ (ข้าว) และ นายจุล จุลานนท์ (น้ำ) พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้นิยมการเดินป่าชมธรรมชาติ เป็นประธาน "มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" และเป็นที่ปรึกษาของเยาวชนกลุ่ม "รักษ์เขาใหญ่" ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ในชื่อ "ลุงแอ้ด"

พล.อ.สุรยุทธ์ นั้นมีชื่อเล่นว่า “แอ่ด” คือมาจากชื่อของรถรบสมัยนั้น ที่ทหารม้าหรือทหารรถรบ (ม้าเหล็ก) ตั้งฉายาว่า “รุ่นไอ้แอ่ด” คุณพ่อของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเอาชื่อเล่นของรถถังรุ่นไอ้แอ่ดมาเป็นชื่อเล่นของลูกชาย ดังนั้น ที่เรียกกันว่า “แอ๊ด” หรือ “บิ๊กแอ๊ด” นั้น จึงเป็นการเรียกผิดและเขียนผิด เปลี่ยนชื่อกันไปเองโดยความเข้าใจผิด เพราะชื่อเล่นที่แท้นั้นคือ “แอ่ด” คือออกเสียงเป็น ไม้เอก ไม่ใช่ไม้ตรี

การศึกษา

จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเลขประจำตัว ส.ก.12129 ก่อนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 1 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12 โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2508

เมื่อเข้ารับราชการแล้วยังผ่านการอบรมในหลายหลักสูตรคือ

  • พ.ศ. 2509 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ
  • พ.ศ. 2509 หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศจู่โจม
  • พ.ศ. 2511 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2516 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52
  • พ.ศ. 2517 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2517 หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2536 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประวัติการทำงาน

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ใน พ.ศ. 2529 - 2531 พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ต่อมาสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 

หลังจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ วางเป้าหมายไว้ว่า จะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน แต่ยังไม่ทันได้เข้าอุปสมบทดังที่ตั้งใจไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 จนเมื่อดำรงตำแหน่งองคมนตรีได้สักระยะจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาอุปสมบทเป็นเวลา ๑ พรรษา ณ วัดป่าแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยดำรงตำแหน่งทางทหาร และตำแหน่งพิเศษอื่นดังนี้ ราชการทหาร

  • รับราชการประจำศูนย์การทหารราบ พ.ศ. 2508
  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31 พ.ศ. 2509
  • ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่2 พ.ศ. 2513
  • ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ พ.ศ. 2515
  • ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23 พ.ศ. 2521
  • ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1 พ.ศ. 2526
  • นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2529
  • ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1 พ.ศ. 2532
  • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ. 2535
  • แม่ทัพภาคที่ 2 พ.ศ. 2537
  • ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก พ.ศ. 2540
  • ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก พ.ศ. 2540
  • ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2541 - 2545
  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2545 -2546

ตำแหน่งพิเศษ

  • ราชองค์รักษ์เวร พ.ศ. 2526
  • นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) พ.ศ. 2529-2531
  • นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2531
  • สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2535 และ 2539
  • ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ภายหลังจากที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีประชาชนรวมตัวกันชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ เพื่อขับไล่ พล.อ.สุจินดา ให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา ต้องสลายการชุมนุม โดย พล.อ.สุรยุทธ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี ได้เป็นผู้สั่งการกองกำลังทหารเข้าตรวจค้นในบริเวณโรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยไม่ให้ใช้อาวุธ 

การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แม่แบบ:นายกรัฐมนตรีไทย 2540-2549 แม่แบบ:นายกรัฐมนตรีไทย 2550-2559

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ แถลงข่าวหลังได้รับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

หลังจากการเชิญเพื่อให้ช่วยรับภาระในการนำรัฐบาลชั่วคราวถึง 2 ครั้งจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเข้าดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การปฏิบัติงานของรัฐบาล
  • วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีงบประมาณส่วนกลาง 5000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน 

การคลัง

  • นำ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก มาใช้
วัฒนธรรม
  • ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโมษณาได้ในเวลา22.00เป็นต้นไป 
  • ออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้ 
สาธารณสุข
  • ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค และให้คนไทยห่างไกลจากโรค 
พลังงาน
  • ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า
การศึกษา
  • ให้โรงเรียนดัง 430 โรงเรียนทั่วประเทศ รับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก 
สิทธิมนุษยชน
  • ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯเรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก 
  • การสั่งห้ามคนขับรถแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพเข้าร่วมการประท้วงคณะเผด็จการ/รัฐบาลทหาร สมัชชาคนจนหลายพันคนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการประท้วงในกรุงเทพฯโดยอ้างว่าพวกเขาไม่มีใบอนุญาตให้เดินทางตามกฎอัยการศึก (ซึ่งยังมีผลครอบคลุม 30 กว่าจังหวัดในเวลานั้น) 
  • สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์ประธานองคมนตรีถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ดังนั้น การปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเหมาะสม
  • รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ผลักดันกฎหมายที่ระบุว่า ผู้ที่พยายามเข้าเว็บไซต์ใดๆที่รัฐบาลได้เซ็นเซอร์ไว้หนึ่งหมื่นกว่าเว็บ จะต้องรับโทษตามกฎหมาย และเอาผิดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่เปิดเผยไอพีแอดเดรสของผู้ใช้แก่รัฐบาล
  • การปิดวิทยุชุมชนที่ต่อสายตรงสัมภาษณ์อดีตนายกฯพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ.ต.ท.ให้สัมภาษณ์หลังเกิดรัฐประหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยได้โทรทัศน์เข้ามาที่สถานีวิทยุชุมชนคลื่น 87.75FM และคลื่น 92.75FM วันต่อมา รัฐบาลทหาร กรมประชาสัมพันธ์ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้เข้ามาตรวจสอบวิทยุชุมชนแห่งนี้ ทำให้วิทยุชุมชนนี้งดออกอากาศ
  • การก่อตั้งเครือข่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารจำนวน 700,000 คนเพื่อสกัดกั้นผู้ประท้วงรัฐบาลทหาร ผบ.กอ.รมน. กล่าวว่า "เราต้องสกัดกั้นผู้ประท้วงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ถ้ามีผู้ประท้วงน้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร"
  • วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลทหารสั่งเซ็นเซอร์การแพร่ภาพการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทาง CNN ในประเทศไทย
สื่อสารมวลชน
  • ได้ปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550
  • ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2550 และปิดตัวลงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 เวลา 00.08 น.
  • ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส (ปัจจุบันใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 และเปิดทำการออกอากาศเป็นครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบโดยอยู่ภายใต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551
  • จัดรายการที่ให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลให้แก่ประชาชน คือ รายการสายตรงทำเนียบ และรายการ เปิดบ้านพิษณุโลก ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
บัญชีทรัพย์สิน

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ต.ค. พ.ศ. 2549 พบว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีทรัพย์สินรวม 25,246,091 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 5 บัญชี จำนวน 7,283,341 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 82,500 บาท ที่ดิน 9 แปลง มูลค่า 17,880,250 บาท พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ ภริยา มีทรัพย์สินรวม 65,566,363 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 15 บัญชี จำนวน 20,620,933 บาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล 10,030,000 บาท เงินลงทุนอื่น 33,430 บาท ที่ดิน 3 แปลง มูลค่า 7 ล้านบาท บ้าน 3 หลัง มูลค่า 10 ล้าน ยานพาหนะ 3 คัน มูลค่า 3,725,000 ทรัพย์อื่น 14,157,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับอัญมณี ทั้งสองคนมีทรัพย์สินรวม 90,812,454 บาท 

ฉายานาม

เนื่องจากรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีที่เป็นผู้สูงอายุ และข้าราชการประจำที่เกษียณอายุแล้วจำนวนมาก สื่อมวลชนจึงตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลขิงแก่" แต่ก็มีสื่อมวลชนบางแขนง ตั้งฉายาให้ว่า ยุทธ ยายเที่ยง เนื่องจากมีคดีพัวพันเกี่ยวกับการโกงที่ดินเขายายเที่ยง และโดยที่นายกรัฐมนตรีเองถูกมองว่ามุ่งเน้นการรักษาคุณธรรม จริยธรรม และในขณะเดียวกันก็ทำงานเชื่องช้า ทำให้ได้รับฉายาจากนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าเป็น "ฤๅษีเลี้ยงเต่า" โดยตั้งล้อกับฉายาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยได้รับฉายาว่า "ฤๅษีเลี้ยงลิง"

รางวัลและเกียรติยศ

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2550 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • พ.ศ. 2561 - Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) 
  • พ.ศ. 2538 - Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 
  • พ.ศ. 2535 - Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2544 - Order of Chula Chom Klao - 2nd Class upper (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายหน้า (ท.จ.ว.)
  • พ.ศ. 2517 - Freeman Safeguarding Medal - Class 1 (Thailand).png เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
  • Border Service Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญราชการชายแดน
  • Chakra Mala Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญจักรมาลา
  • Red Cross Medal of Appreciation (Thailand) ribbon.png เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่1
ยศทางทหาร
  • พ.ศ. 2508 ว่าที่ร้อยตรี
  • พ.ศ. 2508 ร้อยตรี
  • พ.ศ. 2510 ร้อยโท
  • พ.ศ. 2513 ร้อยเอก
  • พ.ศ. 2517 พันตรี
  • พ.ศ. 2521 พันโท
  • พ.ศ. 2523 พันเอก
  • พ.ศ. 2529 พลตรี
  • พ.ศ. 2535 พลโท
  • พ.ศ. 2540 พลเอก
  • พ.ศ. 2542 พลอากาศเอก พลเรือเอก