ผู้เข้าชม

web counter

 

 



                                                                                                         

นายกรัฐมนตรีไทย คนที่29
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประวัติ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของพันเอก(พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชาและเข็มเพชร จันทร์โอชา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย, หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช., ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไทย และประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้เข้ารับราชการครั้งแรกด้วยยศร้อยตรี ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และก้าวขึ้นเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1, ผู้บัญชาการทหารบก, หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จนมาถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทยตามลำดับ นอกกจากนั้นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี

ในปี 2554 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการลงคะแนนให้เป็นสุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนั้นยังได้แต่งเพลง "คืนความสุขให้ประเทศไทย" เพื่อสื่อความหมายจากใจที่ต้องการคืนความสุขให้ประชาชน โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดังเป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้องและทำนองประกอบให้และขับร้องโดยกองดุริยางค์ทหารบกอีกด้วย ซึ่งเพลงมีความยาวประมาณ 4 นาที

ด้านรางวัลทางสังคม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้รับรางวัลคนดีสังคมไทย สาขาส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงของชาติในปี พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร และได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในปี พ.ศ. 2553 ส่วนงานราชการพิเศษ ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท พ.ศ. 2552 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองรักษ์พิเศษ และ พ.ศ. 2555 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นตุลาการศาลทหารสูงสุด[4] พ.ศ. 2549 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษฯ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ และ พ.ศ. 2554 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ฯ, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. 2553, เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ พ.ศ. 2556 Region of Merit (Degree of Commander) (สหรัฐอเมริกา)

ชีวิตส่วนตัว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และนิฏฐา จันทร์โอชา ซึ่งทั้งสองสำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก(พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู พลเอก ประยุทธ์มีชื่อเล่นว่า "ตู่" หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน ได้แก่ ประคัลภ์ จันทร์โอชา, พลอากาศตรีหญิงประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ และพลเอก ปรีชา จันทร์โอชาอดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายทหารคนที่สามที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หลังจากที่ทรงเคยโปรดเกล้าฯ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ และ หัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

การศึกษา
  • พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
  • พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
  • พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
  • พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
  • พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
  • พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดา เป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ยุบไปแล้ว ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรีแต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ในคอลัมน์ "เรียนดี" นิตยสารชัยพฤกษ์ เมื่อปี 2512 ได้กล่าวว่า ประยุทธ์สอบได้คะแนนดีมาก มีอุปนิสัยเงียบขรึมและเป็นมีวินัยสูง ด้วยความที่เป็นพี่ชายคนโตจึงต้องทำตัวเป็นพี่ที่ดี ในวัยเยาว์เขาเป็นคนเรียนเก่งมีความถนัดและความชอบในวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากการสนับสนุนของบิดามารดา หนังสือที่อ่านเป็นประจำได้แก่ “ชัยพฤกษ์” ประวัติการเล่าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้น ไม่เคยได้เกรดต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถูกถามว่า “ถ้าสอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว จะสอบเข้าเรียนต่อที่ไหน” ประยุทธ์ในวัยเด็กนั้นบอกกับผู้สัมภาษณ์ว่าเขาตั้งใจจะเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารและหวังว่าจะได้เป็นทหารบกในอนาคต

ชีวิตส่วนตัว

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญาและนิฏฐา จันทร์โอชา ซึ่งทั้งสองสำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย(โดยใช้เวลาเรียน 3 ปีครึ่ง) และทั้งคู่เคยออกอัลบั้มเพลงร่วมกับ นิค นิติญา อ่ำสกุล เป็นวงดนตรีทริโอหญิงในนามวงBADZ วงดนตรีแนวพังก์ในสังกัดย่อยจีโนม เรคคอร์ด สังกัดอาร์เอส

ประวัติการทำงานก่อนเป็ฯนายกรัฐมนตรี
รับราชการทหาร

พลเอก ประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ประยุทธ์ ครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ซ้าย) เมื่อเดือนมิถุนายน 2555
  • พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
  • พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาพที่ 1 (มทภ. 1 )
  • พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ด้านการเมือง
พ.ศ. 2549 - 2554

วันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ที่มีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ พลตรีประยุทธ์เป็นผู้รับคำสั่งตรงจากพลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 ต่อมาเมื่อพลโทอนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก " พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2551[11] ถึง 14 กันยายน 2551 พลเอก ประยุทธ์ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารบกและต่อมาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553, วันที่ 13 เมษายน 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้นจนสิ้นสุดการประกาศสถานการณ์ในวันที่ 24 เมษายน 2552

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553โดยมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป, วันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้งให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2553 ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ คนที่ 1ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทำหน้าที่เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เขาได้ลงนามในคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เรื่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และเขายังเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554

พ.ศ. 2555 - 2557

ภายหลังเปลี่ยนรัฐบาลโดยมียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นบุคคลที่หลายฝ่ายคาดว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบกโดยอาจเปลี่ยนโยกย้าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทนเนื่องจากเป็นผู้อยู่ตรงข้ามฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้นแต่ก็ไม่ได้มีการปรับย้ายตามที่ถูกคาดการณ์ นับได้ว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้บัญชาการทหารบกภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีถึง 3 ราย ได้แก่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตัวพลเอก ประยุทธ์เองตามลำดับ

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ ได้ประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรและจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อดูแลสถานการณ์ทางการเมืองขึ้นแทนศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยที่รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น แต่อีก 2 วันต่อมาเขาได้ทำการรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังการหารือกับตัวแทน 7 ฝ่ายไม่เป็นผล ด้วยประโยคที่ว่า"หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ"[19]

ต่อมาในประกาศฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

หลังรัฐประหาร เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในดังต่อไปนี้

  1. ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  2. ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2557
  3. ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2557
  4. ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2557
  5. ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2557
  6. ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2557
  7. ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2557
  8. ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2557
  9. ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และ ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2557
  10. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ตั้งแต่ 30 กรกฎาคม 2557
  11. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2557
  12. ประธานกรรมการ คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
  13. ประธานกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  14. ประธานกรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  15. ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559
  16. ประธานคณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐ ตั้งแต่ วันที่ 18 เมษายน 2559
  17. ประธานคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 27 มิถุนายน 2559
  18. ประธานสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 6 ตุลาคม 2559
  19. ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  20. ประธานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
  21. ประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
  22. ประธานคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

และเขายังเป็นกรรมการตามพระราชบัญญัติ ต่าง ๆ ที่ออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 ดังต่อไปนี้

  1. ประธานกรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตั้งแต่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558
  2. ประธานกรรมการ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
  3. ประธานกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558
  4. ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำลังพลสำรอง ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
  5. ประธานกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตั้งแต่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
  6. ประธานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
  7. ประธานคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
  8. ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในคราวประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ 191 เสียงจากสมาชิกในที่ประชุม 194 คน ลงมติให้พลเอก ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงมติดังกล่าว ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องอยู่ในห้องประชุมและไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ ต่อมามีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 25 สิงหาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์เป็นนายทหารอาชีพคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีนับแต่พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 เขายังเป็นผู้นำรัฐประหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การมีคณะรัฐมนตรี

ในวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นวันที่สาม คสช. อนุมัติโครงการและงบประมาณรวมกว่า 1 แสนล้านบาท เป็นงบวงเงินสินเชื่อแนวทางพัฒนายางพารา 50,000 ล้านบาท สร้างบ้านแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 34,200 ล้านบาทและอื่น ๆ วันที่ 26 กันยายน 2557 พลเอก ประยุทธ์ลงนามแก้ไขข้อกำหนดคุมวินัยผู้ช่วยรัฐมนตรีในข้อ 11 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 โดยเปิดช่องให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการ-ที่ปรึกษา รวมถึงเป็นคู่สัญญาหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ขัดหรือแย้งกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กรอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดหรือในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี หรือกระทรวงได้

วันที่ 1 เมษายน 2558 เขาทูลเกล้าฯ ยกเลิกกฎอัยการศึก หลังประกาศใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2557 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกในวันนั้น จากนั้นเขาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยแทน วันที่ 5 กันยายน 2558 เขาใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย พักงาน และไล่ออกหรือถอดถอนตำแหน่งข้าราชการ โดยถอดยศ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วันที่ 31 ตุลาคม 2558 มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของพลเอก ประยุทธ์ พบว่า เขามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท มีนาฬิกา 12 เรือน บางเรือนราคา 900,000 บาท ปืน 9 กระบอก นอกจากนี้ ยังแจ้งรายจ่ายคินเงินกองกลางให้พ่อและน้อง 268 ล้านบาท และมอบให้ลูก 198 ล้านบาท รวม 466 ล้านบาท

ข้อวิจารณ์
ข้อสังเกตระหว่างวิกฤตการณ์การเมือง

สำนักข่าวบีบีซีอ้างอิงกลุ่มผลประโยชน์ฮิวแมนไรทส์วอตช์กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ขัดขวางการสืบสวนวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งมีผู้เสียชีวิตในปี 2553และต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงให้ "คนดี" ในการเลือกตั้งปีนั้น ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โจมตียิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยโดยตรงและในระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาก็ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง "สภาประชาชน"

การขายที่ดิน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 พลเอก ประยุทธ์ขายที่ดิน 9 แปลงให้บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งสำนักข่าวอิศรารายงานว่า บริษัทดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 หนึ่งสัปดาห์ก่อนการขาย มีบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ ทรัส ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ แซมเบอร์ได้รับโอนหุ้นจากบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด ซึ่งที่ตั้งของบริษัทนั้นเป็นตู้ไปรษณีย์แห่งหนึ่งในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ต่อมามีการเพิ่มทุนและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง มีกรรมการเป็นกรรมการบริษัทในเครือทีซีซีแลนด์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี

พ.ศ. 2549 - 2554

ผลงานเพลง

  • พ.ศ. 2557 ได้แต่งเพลง คืนความสุขให้ประเทศไทย เพื่อสื่อความหมายจากใจที่ต้องการคืนความสุขให้ประชาชน โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธุ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดัง เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้องประกอบทำนอง และขับร้องโดยกองดุริยางค์ทหารบก ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกในรายการใต้ร่มธงไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เมื่อ 6 มิถุนายน 2557 ความยาว 4 นาที
  • พ.ศ. 2558 ได้แต่งเพลง เพราะเธอคือ...ประเทศไทย เป็นของขวัญในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2559โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธุ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดัง เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้อง ทำนองและเรียบเรียงมี พันตรี สุระชัย ถวิลไพร ขับร้องโดย จ่าสิบเอก พงศธร พอจิต ซึ่งเป็นผู้ขับร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทย มาขับร้องเพลงนี้ ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกให้สื่อมวลชนฟังระหว่างรอการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 ความยาว 4 นาที
  • พ.ศ. 2559 ได้แต่งเพลง ความหวังความศรัทธา โดยมีจุดมุ่งหมายถึง ความหวังความศรัทธาที่จะสามารถสร้างพลังยิ่งใหญ่ได้ แต่คนไทยทั้งชาติจะต้องร่วมมือร่วมใจ และรวมพลังของความเป็นไทยอย่างไม่ท้อแท้เพื่อไปสู่เป้าหมาย โดยมอบให้พันตรี สุระชัย ถวิลไพร เป็นผู้เรียบเรียงและทำนอง และมี จ่าสิบเอก พงศธร พอจิต เป็นผู้ขับร้อง
  • พ.ศ. 2560 ได้แต่งเพลง สะพาน โดยมีจุดมุ่งหมายถึง คณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหาร ตำรวจและประชาชนที่จะต้องเป็นสะพานก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวข้ามสิ่งเก่า ๆ ที่ไม่ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่พัฒนาเพื่อปฏิรูปประเทศ ฉะนั้นทุกคนต้องร่วมมือร่วมกัน สะพานจะไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้ ถ้าทุกคนยังวนเวียนอยู่กับเรื่องความขัดแย้งเดิม และความคิดเดิม
รางวัล
  • พ.ศ. 2548 – ได้รับรางวัลคนดีสังคมไทย สาขาส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงของชาติ
  • พ.ศ. 2549 – รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร
  • พ.ศ. 2553 – รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2554 – ได้รับการลงคะแนนให้เป็นอันดับ 1 สุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐแห่งปี 2554 จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
  • พ.ศ. 2553 - Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2542 - Order of Chula Chom Klao - 3rd Class upper (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
  • พ.ศ. 2533 - Order of Rama 5th Class ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 5 เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - Freeman Safeguarding Medal - Class 2 Cat 1 (Thailand).png เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - Border Service Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญราชการชายแดน
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - Chakrabarti Mala Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
  • BRU Royal Family Order of the Crown of Brunei.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งบรูไน จากเนการาบรูไนดารุสซาลาม
  • Pingat Jasa Gemilang (Tentera) ribbon.png Pingat Jasa Gemilang (Tentera) จากสาธารณรัฐสิงคโปร์
  • Eka Paksi Utama Rib.png Bintang Kartika Eka Pakçi Utama จากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
  • US Legion of Merit Commander ribbon.png ลีเจียนออฟเมอริต (Degree of Commander) จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
  • PRK Order of the National Flag - 1st Class BAR.png Order Of The National Flag จากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
  •