ผู้เข้าชม

web counter

 

 



                                                                                                                         

      นายกรัฐมนตรีไทยคนที่3
      จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ประวัติ

จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ นายกองใหญ่ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า"

ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี

การศึกษา

การเข้าสู่อาชีพทหาร
เด็กชายแปลก เข้าสู่ระบบศึกษาครั้งแรกที่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2452 อายุได้ 12 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยบิดาขอร้องให้ พล.ต.พระยาสุรเสนาช่วยนำฝากเข้าเรียนพร้อมกับพี่ชาย "ประกิต" ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยเป็นเวลา 6 ปี (นักเรียนชั้นประถม 3 ปี นักเรียนชั้นมัธยม 3 ปี) ได้เป็น"นักเรียนทำการนายร้อย" เมื่ออายุได้ 18 ปี (9 พ.ค. 2458) สังกัด "เหล่าปืนใหญ่" โดยได้เป็น "ว่าที่ร้อยตรี" (1 พ.ย. 2458)

ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 9 : 16 ธันวาคม 2481 - 6 มีนาคม 2485
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 : 7 มีนาคม 2485 - 1 สิงหาคม 2487
สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 21 : 8 เมษายน 2491 - 24 มิถุนายน 2492
สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 22 : 25 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494
สมัยที่ 5 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 23 : 29 พฤศจิกายน 2494 - 6 ธันวาคม 2494
สมัยที่ 6 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 24 : 6 ธันวาคม 2494 - 23 มีนาคม 2495
สมัยที่ 7 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 25 : 24 มีนาคม 2495 - 26 กุมภาพันธ์ 2500
สมัยที่ 8 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 26 : 21 มีนาคม 2500 - 16 กันยายน 2500

ผลงานที่สำคัญ

นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่งโจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทนการให้ประชาชนเลิกกินหมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มีลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน
- การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

Order of the Nine Gems.JPGOrder of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png
Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.pngOrder of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.pngVictory Medal - World War 2 (Thailand).png
Safeguarding the Constitution Medal (Thailand) ribbon.pngDushdi Mala - Military (Thailand).png
Border Service Medal (Thailand) ribbon.pngChakra Mala Medal (Thailand) ribbon.pngKing Rama IV Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png
King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png

พ.ศ. 2484 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)

พ.ศ. 2485 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)

พ.ศ. 2484 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) พร้อมสายสร้อยทองคำ

พ.ศ. 2483 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 

ไม่ปรากฏปี - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

ไม่ปรากฏปี - เหรียญกล้าหาญ

ไม่ปรากฏปี - เหรียญชัยสมรภูมิ (กรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา)

ไม่ปรากฏปี - เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน)

พ.ศ. 2477 - เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)

พ.ศ. 2477 - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ)

ไม่ปรากฏปี - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

ไม่ปรากฏปี - เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

ไม่ปรากฏปี - เหรียญราชการชายแดน

ไม่ปรากฏปี - เหรียญจักรมาลา

พ.ศ. 2481 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)

พ.ศ. 2496 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)